หน่วยที่2

เนื้อหาหน่วยที่2
ชื่อหนังสือ:การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
หลักในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
โรเจอร์ส(Rogers 1970: 69-82) ได้เสนอแนะถึงการสร้างสถานการณ์ที่จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 2 ประการคือ
1.ความรู้สึกปรอดภัยทางจิต (Psychological Safety)
ซึ่งจะสร้างได้ด้วยกระบวนการที่สัมพันธ์กัน 3 อย่างคือ
1.1ยอมรับในคุณค่าของแต่ละบุคคลอย่างไม่มีเงื่อนไข การที่พ่อแม่หรือครู ยอมรับความสามารถและเชื่อมั่นในตัวเด็กอย่างไม่มีเงื่อนไข ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัย เริ่มเรียนรู้ว่าตนสามารถจะเป็นอะไรก็ได้ที่อยากเป็น ทำให้เด็กสามารถพบสิ่งต่างๆ ที่คุณค่าหรือมีความหมายสำหรับตน กล้าที่จะลองและสร้างความสำเร็จใหม่ๆ ให้แก่ตนเองและทำเองได้โดยไม่มีใครกระตุ้น
1.2สร้างบรรยากาศที่ไม่มีการวัดผลและประเมินผลจากภายนอก เมื่อไม่มีการวัดผลจากภายนอกหรือจากมาตรฐานอื่นๆ จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอิสระ เป็นตัวของตัวเอง และกล้าแสดงออกทั้งความคิดและกระทำอย่างร้างสรรค์ได้
1.3ความเข้าใจ ถ้าเราเข้าใจเด็ก เห็นใจเด็ก และเข้าใจความรู้สึกของเขาเข้าไปสู่โลกส่วนตัวของเขาและมองมันอย่างที่เขามองและยังคงยอมรับเขาอยู่ จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกปลอดภัย บรรยากาศอย่างนี้จะทำให้เขายอมรับตัวของเขาจริงๆ และการแสดงออกต่างๆของเขารวมทั้งความต้องการสร้างสรรค์สิ่งแปลกๆที่เกี่ยวข้อสัมพันธ์กับโลกของเขาด้วย
2.ความเป็นอิสระทางจิต (Psychological Freedom)
เป็นการให้อิสรภาพแก่ทุกคนในการที่จะคิด รู้สึก เป็นอะไรก็ตามที่อยู่ในตัวเขา เป็นการส่งเสริมความเปิดเผยจะทำให้มีความเป็นอิสระ ไม่กลัวต่อความเปลี่ยนแปลงและสภาพการณ์ใหม่ กล้าที่จะยอมรับกับความ ผิดพลาดนำไปสู่การประเมินภายในตนเอง ซึ้งท้ายที่สุดก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้ด้วยตนเอง
ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและความเป็นอิสระจึงเป็นหลักการพื้นฐานของการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งสถาบันแรกที่จะปลูกฝังความรู้สึกเหล่านี้คือครอบครัว การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จึงให้ความสำคัญของบ้านหรือครอบครัวเป็นอันดับแรก
บ้าน จะต้องส่งเสริมให้เด็กมีความคิดเป็นของตัวเอง กล้าแสดงความคิดเห็น และ ไม่สกัดกั้นความคิดเห็นของเด็ก จากประวัติศาสตร์การค้นคว้าที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เช่น โคลัมบัส เบนจามินแฟรงคลิน กาลิเลโอ และดาร์วิน บุคคลเหล่านี้กล้าคิด กล้าคัดค้านทั้งสิ้น จึงทำให้เขาค้นพบความรู้ใหม่ๆ กล่าวคือ โคลัมบัสคิดคัดค้านความเชื่อเก่าที่บอกว่าโลกแบน ทำให้คนรุ่นใหม่ต่อมาทราบว่าโลกกลม เบนจามินแฟรงคลิน ไม่ยอมเชื่อเรื่องเทวดา เขาจึงพบไฟฟ้าในบรรยากาศ กาลิเลโอไม่ยอมเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลดังที่คนสมัยก่อนเข้าใจ จึงทำให้ได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับจักรวาล และดาร์วินไม่ยอมเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ จึงทำให้เขาคิดทฤษฎีว่ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากต้นตระกูลลิงชนิดหนึ่ง นักคิดนักค้นคว้าเหล่านี้คือบุคคลที่กล้าคิด นับว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง เมื่อได้รับโอกาสหรือการส่งเสริมให้รู้จักคิด กล้าคิด และกล้าแสดงออก แต่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของคนไทยมักนิยมส่งเสริมให้เป็นเด็กหัวอ่อนยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ทุกประการ ส่งผลสะท้อนให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการทำงานสั่งจากเบื้องบน ซึ่งจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ฝ่ายแรกมักจะเกรงกลัวและเชื่อฟังผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา เมื่อปฏิบัตินานเข้าก็กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีและนิสัยที่ผู้น้อยเองที่ต้องการเช่นนั้น ดังนั้นผู้น้อยในวงราชการ หรือประชาชนจึงไม่นิยมแสดงความคิดเห็น
 ไม่ริเริ่มสร้างสรรค์คอยทำตามคำสั่งเท่านั้น
การสร้างสรรค์เป็นเรื่องสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความภาคภูมิใจในตนเอง การสนับสนุนการสร้างสรรค์ในตัวลูกจึงเท่ากับช่วยให้ลูกเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า แต่ถ้าพ่อแม่เมินเฉยกับการสร้างสรรค์ของลูกจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นพ่อแม่ควรจะให้ความสนใจในสิ่งที่ลูกทำ สังเกตสิ่งที่ลูกแสดงออกถึงการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ เป็นต้นว่า ถ้ามีการเคลื่อนไหวร่างกายที่คล่องแคล่ว แสดงว่าอาจจะมีการสร้างสรรค์ในเรื่องของกีฬาหรือเต้นรำจึงควรส่งเสริมเด็กในด้านนั้นๆ เป็นพิเศษ บางครั้งเด็กแสดงออกถึงการสร้างสรรค์ของเขาแบบง่ายๆ โดยการตั้งคำถามเป็นชุดในเรื่องที่สงสัยอย่างหน้าดำคร่ำเครียด พ่อแม่ควรมีความอดทนและตอบคำถามของเด็ก ตัวอย่างของพ่อแม่ที่ส่งเสริมและสนับสนุนลูก ช่วยขจัดปัญหาให้ลูกมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะพ่อแม่ของเอดิสัน และไอนสไตร์ แม้ครูจะแจ้งว่าเด็กทั้งสองเป็นเด็กโง่ทึบ ปัญญาอ่อน และให้ออกจากโรงเรียน พ่อแม่ยอมเอาลูกออกแต่ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าลูกทั้งสองโง่ทึบ กลับให้กำลังใจและส่งเสริมคุณลักษณะต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจนเด็กทั้งสองสามารถพัฒนาตนเองจนกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ แสดงให้เห็นว่า พ่อแม่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของลูก




บรรณานุกรม
กรุงเทพธุรกิจ. โรงบ่มความคิดสร้างสรรค์ “สอนเด็กให้สร้างปัญญาด้วยตนเอง” . กรุงเทพฯ (20 ตุลาคม 2542): 3.
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. ความคิดสร้างสรรค์ : พรสวรรค์ที่พัฒนาได้.        กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิธการพิมพ์, 2537.
วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ.ความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, 2535.
อารี  พันธ์มณี. คิดอย่างสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่5.กรุงเทพฯ:  ต้นอ้อแกรมมี่, 2540 ก.
อารี   รังสินันท์. ความคิดสร้างสรรค์.พิมพ์ครั้งที่3 กรุงเทพ: ข้าวฟ่าง, 2532.
อุษณีย์ โพธิสุข และกองบรรณาธิการโครงการพิเศษ. สร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ.กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. (1954), 2537.
ออลสัน, โรเบิร์ท. ศิลปะการเสริมสร้างพลัง “ความคิดสร้างสรรค์” พิมพ์ครั้งที่2. แปลจาก The Art of Creative Thinking โดย มนูญ ตนะวัฒนา. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2537.
เอมสตีน, เซย์มัวร์ และบรอดสกี้, อาร์ซี่. คุณฉลาดมากกว่าที่คุณคิดไว้: การพัฒนาการคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จในชีวิต. แปลจาก You’re Smarter Than You Think: How to Develop You Practical Intelligence For Success in Living โดย วิทยากร เชียงกูล. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2540.
 Rogers’ C.R. Toward a Theory of Creativity. In P.E. Vernon (ed.), Creativity.

Hasmonds Worth: Penguin Book, 1970.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น